Home

12 ก.ย. 2565

การศึกษาทำวิจัย ป.โท หรือทำวิทยานิพนธ์ (Thesis) ป.เอก ควรมีการวางแผนที่ชัดเจนก่อนที่จะทำการศึกษาทำวิจัย เพื่อลดปัญหาหรืออุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำวิจัย ซึ่งบางครั้งการทำวิจัยก็ไม่ได้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ได้ อาจมีปัญหาหรืออุปสรรคเกิดขึ้น จึงจำเป็นต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อคอยให้คำแนะนำเมื่อนักศึกษามีปัญหาหรืออุปสรรคเกิดขึ้นจากกระบวนการศึกษาค้นคว้าการทำวิจัยของนักศึกษา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในรูปแบบงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ (Thesis) โดยการทำงานวิจัย ทำวิทยานิพนธ์ (Thesis) นักศึกษาควรเลือกศึกษาค้นคว้าเรื่องที่อยู่ในความสนใจ ภายใต้การควบคุมดูแลจากอาจารย์ที่ปรึกษา กรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ (Thesis) ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่เริ่มต้นจนจบหลักสูตร เพื่อให้คำปรึกษา แนะนำการดำเนินงานวิจัยแต่ละกระบวนการให้สามารถดำเนินการไปในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม เปรียบเสมือนไฟนำทางที่จะสามารถถ่ายทอดความรู้และคำตอบต่อประเด็นปัญหาที่ได้ทำการวิจัยค้นคว้า

ก่อนพบอาจารย์ที่ปรึกษาควรวางแผนก่อนว่าเรามีคำถามอะไรบ้างที่อยากจะถามอาจารย์ให้ลำดับความสำคัญของคำถามเหล่านั้นเขียนออกมาเป็นข้อๆ โดยเริ่มจากคำถามสำคัญเร่งด่วนที่เราต้องการขอคำปรึกษาจากอาจารย์ก่อนเผื่ออาจารย์มีงานด่วน ทำให้ไม่สามารถคุยได้นาน แล้วจึงค่อยถามคำถามอื่นต่อได้ การส่งเรื่องหรือผลที่เราต้องการขอคำปรึกษาให้อาจารย์ดูล่วงหน้า จะช่วยให้อาจารย์มีเวลาเตรียมคำแนะนำ/คำอธิบายที่ช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นเมื่อพบอาจารย์ที่ปรึกษา ในวันที่มีนัดพบอาจารย์ที่ปรึกษาต้องเตรียมทุกอย่างให้พร้อม เช่น เอกสาร ไฟล์งาน สมุดจดบันทึก เพื่อเอาไว้จดประเด็นสำคัญหรือสิ่งที่ต้องทำต่อไปด้วย ในการสนทนากับอาจารย์แนะนำให้ทบทวนจากการประชุมครั้งที่แล้วเราสรุปว่าจะทำอะไรบ้าง จากนั้นจึงค่อยรายงานผลความคืบหน้าว่าเราทำอะไรลงไปแล้วบ้าง แล้วจึงค่อยพูดถึงปัญหาหรือคำถามที่เราอยากจะขอคำปรึกษาจากอาจารย์

เพื่อให้การเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษา หรือการเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ (Thesis)ที่เหมาะสมจะช่วยให้กระบวนการทำวิทยานิพนธ์ (Thesis)ของนักศึกษามีความราบรื่นยิ่งขึ้นได้ประโยชน์สูงสุด ทำให้ประสบความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ (Thesis) ซึ่งการเลือกอาจารย์ควบคุมวิทยานิพนธ์ (Thesis)แต่ละสถาบันอาจมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันในบางประเด็น เพราะในกระบวนการอนุมัติการทำวิทยานิพนธ์ (Thesis) ป.โท และการทำดุษฎีนิพนธ์ ป.เอก อาจารย์ที่ปรึกษามีสิทธิ์ตัดสินอนุมัติหรือไม่อนุมัติผลสอบวิทยานิพนธ์ (Thesis) ดังนั้น การเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติหรือลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ (Thesis)เป็นผู้ใหญ่ใจดีจึงเป็นเรื่องสำคัญ ลักษณะสำคัญที่สุดของอาจารย์ควบคุมวิทยานิพนธ์ (Thesis) คือรู้ขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์ (Thesis) มีเวลาให้นักศึกษา จริงใจต่อนักศึกษาและมีความรู้ความสามารถ รวมถึงด้านบุคลิกภาพ มีระดับอีโก้ไม่สูงเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ท่านมาเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะทำให้วิทยานิพนธ์ (Thesis)มีคุณภาพและนักศึกษาจำเป็นที่ต้องมีการติดต่อสื่อสารพูดคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องจะช่วยทำให้ประสบความสำเร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ได้ นอกจากนี้ บางครั้งอาจารย์อาจจะไม่รับเป็นที่ปรึกษาก็ได้ ด้วยเหตุผลที่ว่า อาจารย์ท่านนั้นไม่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่นักศึกษาทำหรืออาจารย์รับเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ (Thesis)ครบแล้วและอาจารย์ไม่มีเวลาในการให้คำปรึกษา ถ้าในระหว่างที่ปรึกษาหารือกันอยู่แล้วมีตรงไหนที่อาจารย์อธิบายแล้วเรายังไม่เข้าใจ ให้ถามซ้ำถ้ายังไม่เข้าใจ เพราะอาจส่งผลให้งานทำไปแบบผิดๆ ต้องมาเสียเวลาแก้ไข

หลังพบอาจารย์ที่ปรึกษาจึงควรหาเวลาเพื่อทบทวนและตรวจสอบว่าส่วนใดที่อาจขาดหายไป ยังไม่ครบถ้วนและมีสิ่งใดที่ต้องทำเพิ่มเติมอีกบ้าง ข้อดีอีกอย่างของการจดบันทึกสรุปนี้ คือช่วยเตือนความจำที่คอยจดบันทึกสาระสำคัญจากการประชุมเอาไว้ทุกครั้ง ก็ถือว่าเป็นการช่วยกันทำงานเพื่อให้งานวิจัยดำเนินไปอย่างราบรื่นได้ และเทคนิคการส่งงานอีกอย่างคือ เมื่อส่งงานครั้งใหม่ให้นำงานครั้งเก่าที่แก้ไขแล้วส่งไปด้วยหรือนำติดไปด้วยเพื่อป้องกันปัญหาอาจารย์ที่ปรึกษาแก้ไขวนซ้ำไปมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น