Home

11 ก.ค. 2563

รับทำวิจัย



รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ ครบวงจร แปลภาษาอังกฤษ จีน ไทย


ติดต่อสอบถาม แอดไลน์ไอดี DBA8822

063-893-4187     Dr.Kwang

10 ก.ค. 2563

รับทำวิทยานิพนธ์

Thesis DD ก่อตั้งโดยกลุ่มอาจารย์ที่จบการศึกษาระดับปริญาเอก และรู้จักคุ้นเคยกันในแวดวงนักวิจัย ในสาขาต่างๆ เพื่อเป็นที่ปรึกษา รับทำวิทยานิพนธ์ และสนับสนุนนักศึกษาทุกระดับในการ รับทำวิจัย ทำสารนิพนธ์ ทำการค้นคว้าอิสระ หรือ รับทำ IS รวมถึงการ รับจ้างทำวิทยานิพนธ์ และรับทำดุษฏีนิพนธ์ โดยให้บริการอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม คณะกรรมการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ ทุกสาขาวิชา และให้บริการ รับทำวิจัย รับทำIS รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำดุษฏีนิพนธ์ รับสร้างเครื่องมือ รับทำบทความ รับลงข้อมูลแบบสอบถาม รับทำ spss amos lisrel ฯลฯ รับแปลภาษาอังกฤษ จีน ไทย รับหาอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ผู้เชี่ยวชาญ กรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิ

สอบถามราคา 063-893-4187, 085-817-3846 ดร.กวาง

ไลน์ไอดี DBA8822

8 ก.ค. 2563

แนวคิดและทฤษฎีการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC : Integrated Marketing Communication)

แนวคิดและทฤษฎีการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ

(IMC : Integrated Marketing Communication)

 การติดต่อสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ (Integrated Marketing Communication : IMC) มีผู้ให้ความหมายไว้ ดังนี้ Armstrong and Kotler (2007) กล่าวว่าเป็นแนวคิดของการประสมประสานอย่างรอบคอบของบริษัทในการใช้ช่องทางการติดต่อสื่อสารต่างๆ ร่วมกันเพื่อส่งข่าวสารที่ชัดเจนสอดคล้องและบรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกัน ซึ่งอาจเป็นข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับองค์การ และผลิตภัณฑ์ขององค์การ

ดารา ทีปะปาล (2541) แนวคิดของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการหรือ IMC (Integrated Marketing Communication) เป็นการวางแผนการใช้กิจกรรมการส่งเสริมการตลาดอย่างผสมผสานให้ไปในแนวทางเดียวกัน และส่งเสริมซึ่งกันและกัน เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพสูงสุดของการติดต่อสื่อสารและสะท้อนถึงภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์และองค์การต่อลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย

Don E. Schultz (1996) การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ (Integrated Marketing Communication) คือกระบวนการการพัฒนาและนำโปรแกรมการสื่อสารในรูปแบบต่างๆมาใช้เพื่อจูงใจกลุ่มลูกค้าปัจจุบันและกลุ่มลูกค้าคาดหวังในช่วงเวลาหนึ่งๆ

“Integrated Marketing Communication is the Process of Developing and Implementing Various forms of Persuasive Communication Programs with Customers and Prospects Over Time”

Kotler (2004) “การสื่อสารทางการตลาด” เป็นเทคนิคทางการตลาดที่มุ่งไปยังกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคเหล่านั้น

Etzel, Walker and Stanton (2007) กล่าวว่าเป็นกลยุทธ์การใช้ส่วนประกอบของส่วนประสมส่งเสริมการตลาด (Promotion Mix Components) แต่ละส่วนเพื่อประสานงานทางการตลาด

Peter and Olson(2008) ได้ให้ความหมายว่า เป็นข้อมูลข่าวสารที่นักการตลาดพัฒนาขึ้น เพื่อใช้สื่อความหมายเกี่ยวกับสินค้าของพวกเขา และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคที่จะซื้อสินค้านั้น

ชื่นจิตต์  แจ้งเจนกิจ (2546) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเป็นรูปแบบการสื่อสารที่มีผู้ส่งสาร คือ ผู้ผลิตสินค้าหรือบริการ ผู้จัดจำหน่ายสินค้า ฝ่ายโฆษณาของบริษัท บริษัทตัวแทนโฆษณาพนักงานขาย ฯลฯ ทำการส่งข่าวสารในรูปของสัญลักษณ์ภาพ เสียง แสง การเคลื่อนไหว ตัวอักษร คำพูด และเสียงเพลงผ่านช่องทางการสื่อสารประเภทต่างๆ ไปยังผู้รับสาร ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของผู้ส่งสาร โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้รับสารตอบสนองไปในทิศทางที่บริษัทต้องการ

เสรี  วงษ์มณฑา (2540) ให้ความหมายไว้ว่า การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ หมายถึง กระบวนการพัฒนาแผนงานการสื่อสารการตลาดที่ต้องการ ด้วยการใช้รูปแบบการจูงใจในหลากหลายลักษณะกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ด้วยวิธีการสื่อสารตราสินค้าเพื่อให้ผู้บริโภคเป้าหมายเกิดความสนใจในสินค้า ตลอดจนนำไปสู่ความรู้จักและคุ้นเคย จนเกิดเป็นความเชื่อมั่นในตรายี่ห้อของผลิตภัณฑ์

สมควร  กวียะ(2547) ได้กล่าวไว้ว่า การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเป็นการสื่อสารพลวัตส่วนหนึ่งในกระบวนการสื่อสารองค์การเชิงบูรณาการ แต่ก็เป็นส่วนที่มีความสำคัญมากเพราะเป็นการบูรณาการโฆษณา (Advertising) การประชาสัมพันธ์ (Public Relations) และการสื่อสารการตลาด (Marketing Communication) เข้าด้วยกัน โดยเน้นการส่งเสริมตราผลิตภัณฑ์(Brand Name Promotion) เพื่อส่งเสริมการขายสินค้าหรือบริการในยุคการค้าเสรีทั้งในระดับประเทศและระดับโลก

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ (2552) กล่าวว่าเป็นแนวความคิดของการวางแผนการสื่อสารทางการตลาด โดยมุ่งที่การสร้างมูลค่าเพิ่ม และประเมินบทบาทเชิงกลยุทธ์ของเครื่องมือสื่อสารการตลาดต่างๆ เช่น การโฆษณา (Advertising) การตอบสนองทางตรง (Direct Response) การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion) การประชาสัมพันธ์ (Public Relations : PR) โดยประสมประสานเครื่องมือเหล่านี้เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกันและมีผลกระทบในการสื่อสารทางการตลาดสูงสุด

วิกรานต์ มงคลจันทร์ (2556) การใช้ IMC มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิผลทางการตลาด การส่งเสริมการตลาด และลดต้นทุนทางการตลาด แต่อย่างไรก็ตาม ผู้โฆษณาส่วนใหญ่พบว่า IMC นำไปปฏิบัติได้ยาก ปัญหาที่สำคัญที่สุดเกิดจากส่วนต่างๆ ของการติดต่อสื่อสาร และการประสานงานระหว่างผู้โฆษณา (เจ้าของสินค้า) และบริษัทตัวแทนโฆษณา ตลอดจนการขายโดยใช้พนักงานขาย การใช้สื่อ (สื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่อสิ่งพิมพ์) การประชาสัมพันธ์ในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ผ่านสื่อ ผู้บริหารบริษัทจำนวนมากให้ความสนใจกระบวนการเหล่านี้ และมีวิธีการจัดการที่กำหนดไว้ในส่วนประสมทางการตลาด แนวคิดของ IMC คือ ต้องการวิธีการใหม่ๆ ในการจัดองค์การ การวางแผน และการจัดการในทุกหน้าที่การตลาด ตัวแทนโฆษณาภายนอกจะต้องใช้กลยุทธ์แบบประสมประสานกันแม้ว่าจะเป็นการลำบากที่จะปฏิบัติตามแต่ก็มีประโยชน์มาก ดังนั้น แนวความคิด IMC นี้จึงเป็นที่ยอมรับอย่างรวดเร็วสำหรับการโฆษณาและมืออาชีพทางการตลาด การสื่อสารการตลาดมีความสำคัญอย่างมาก เพราะต่อให้มีผลิตภัณฑ์ที่ดี การบริการที่ดี ราคาที่เหมาะสม และสถานที่จัดจำหน่ายดีแต่ถ้าไม่มีการสื่อสารการตลาดที่ดีคนก็จะไม่รู้จัก ไม่รู้บริษัทเป็นใคร ขายอะไร และดีอย่างไร ยิ่งถ้าคิดจะสร้างแบรนด์แต่ทำการสื่อสารการตลาดไม่เป็นการสร้าง  แบรนด์ให้สำเร็จจะค่อนข้างยาก การสื่อสารการตลาดปัจจุบันจึงมาใช้หลัก “IMC” ที่ย่อมาจาก“Integrated Marketing Communication” หรือ “การสื่อสารการตลาดแบบครบวงจร”

การส่งเสริมการตลาด (Promotion) หรือการติดต่อสื่อสารทางการตลาด (Marketing Communication) ได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลายความหมาย ดังนี้ Etzel, Walker and Stanton. (2007) ได้ให้ความหมายว่า เป็นองค์ประกอบหนึ่งของส่วนประสมการตลาด ซึ่งให้ข้อมูลจูงใจ และเตือนความทรงจำเกี่ยวกับตลาดของผลิตภัณฑ์ หรือองค์การที่เสนอขาย โดยมุ่งหวังให้มีอิทธิพลต่อความรู้สึกที่ดี (Feelings) ความเชื่อ (Beliefs) หรือพฤติกรรม (Behavior) ของผู้ซื้อ Peter and Olson. (2008) ได้ให้ความหมายว่า เป็นข้อมูลข่าวสารที่นักการตลาดพัฒนาขึ้น เพื่อใช้สื่อความหมายเกี่ยวกับสินค้าของพวกเขา และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคที่จะซื้อสินค้านั้น

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ (2552) ให้ความหมายว่าเป็นการติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อเพื่อสร้างทัศนคติ (Attitude) และพฤติกรรมการซื้อ (Behavior) หรือหมายถึง กระบวนการติดต่อสื่อสารทางการตลาด (Market Communication Process) โดยใช้คนหรือใช้สื่อเพื่อเตือนความทรงจำ (Remind) แจ้งข่าวสาร (Inform) และจูงใจ (Persuade) ผู้ซื้อที่มีศักยภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ขององค์การ การส่งเสริมการตลาด (Promotion) ถือว่าเป็น P ตัวหนึ่งของส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix)

Kotler & Lane (2009) กล่าวว่า “การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ IMC คือการวางแผนสื่อสารทางการตลาดที่เพิ่มมูลค่าของแผนโดยรวม การประเมินกลยุทธ์การสื่อสารต่างๆ ทีละกลยุทธ์เช่น การโฆษณาทั่วไป การตอบสนองโดยตรง การส่งเสริมการขาย และการสัมพันธ์มวลชนแล้วรวมกลยุทธ์เหล่านี้เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกันและเกิดผลอย่างสูงสุดเพื่อให้เกิดการผสมผสานกันอย่างกลมกลืนของข้อความ การที่บริษัทที่จะก้าวไปสู่การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ IMC จะต้องพิจารณาการรับรู้อย่างสูงสุดของผู้บริโภคทั้ง 360 องศา จากช่องทางที่แตกต่างเพื่อให้การสื่อสารส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในชีวิตประจำวัน” คือ การนำเครื่องมือการสื่อสารการตลาดหลายรูปแบบมาใช้ในการสื่อสาร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด (ในลักษณะสอดคล้องและส่งเสริมกัน ส่งผลให้เกิดความรับรู้และนำไปสู่พฤติกรรมของผู้บริโภค)โดยที่ Kotler (2006) ให้ความหมาย การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการไว้ว่าการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการนั้นเป็นการวางแผนการสื่อสารการตลาด เพื่อการสื่อสารทั้งทางตรงและทางอ้อมของผู้บริโภค เพื่อเข้าใจในตราสินค้าหรือแบรนด์นั้นๆ อีกทั้งเพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้บริโภค โดยวิธีที่ใช้ในการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ อาทิ การโฆษณา การส่งเสริมการขาย การประชาสัมพันธ์และแนะนำการสื่อสารแบบต่างๆ เหล่านี้มารวมกันเพื่อให้การติดต่อสื่อสารมีความชัดเจน สอดคล้องกลมกลืนและมีผลกระทบมากที่สุดโดยผ่านทางข่าวสารต่างๆ สอดคล้องกับ สมวงศ์ พงศ์สถาพร (2549) ให้ความหมายการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการว่าหมายถึงกระบวนการการพัฒนาและการนำองค์ประกอบของการสื่อสารการตลาดรูปแบบต่างๆ ไปใช้ร่วมกันเพื่อชวนเชิญโน้มน้าวให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนพฤติกรรมให้คล้อยตามคำเชิญชวนเหล่านั้นโดยใช้สื่อทุกประเภทอย่างมีประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย

 

ภาพที่ 2.5 เป้าหมายการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ

ที่มา : ธีรพันธ์ โล่ห์ทองคำ (2551)

 -ในความคิดเห็นของ Shimp (2000) นิยามความหมายของการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการว่าเป็นกระบวนการของการพัฒนาและการใช้รูปแบบต่างๆ ของโปรแกรมการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจผู้บริโภคตามเป้าหมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผลกระทบโดยตรงต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค ส่วน Russell and Lane (2002) ให้ความหมายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการว่าเป็นการสื่อสารการตลาดที่ไม่ได้เกี่ยวข้องเพียงการโฆษณา หรือการประชาสัมพันธ์เท่านั้น แต่เป็นการทำความเข้าใจในสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการอย่างแท้จริง จากนั้นจึงคิดและวางแผนให้การสื่อสารทั้งหมดขององค์กรเป็นไปในทิศทางเดียวกันขณะที่ Duncan (2005) นิยามการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการว่าเป็นกระบวนการสร้างคุณค่าสำหรับตราสินค้า (Brand Value) โดยต้องมีกระบวนการประสานทำงานร่วมกันของฝ่ายต่างๆ (Cross-Functional Process) เพื่อการสนับสนุนความสัมพันธ์กับลูกค้าและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร (Stakeholders)

จากที่กล่าวมาข้างต้นสามารถสรุปได้ว่าการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการเป็นกระบวนการพัฒนาและนำโปรแกรมการวางแผนใช้เครื่องมือการสื่อสารการตลาดหลากหลายรูปแบบและผสมผสานกันมาใช้เพื่อจูงใจกลุ่มลูกค้า