Home

28 ม.ค. 2563

การมีส่วนร่วม

การมีส่วนร่วม

ความหมาย
การมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึง กระบวนการ หรือกิจกรรมที่ถูกจัดขึ้นแล้วมีความร่วมมือจากประชาชนในทุกมิติ เช่น ร่วมใช้ความคิด เสนอความคิดเห็น ร่วมตัดสินใจ รับฟังความคิดเห็น ประชาพิจารณ์ มีส่วนร่วม หรือช่วยกัน เป็นต้น
ความสำคัญของการมีส่วนร่วม
1. เป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคคล
2. เกิดความรัก ความหวงแหน ความรับผิดชอบ ความสามัคคี
3. ทำให้โครงการ หรือกิจกรรมดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้อง เหมาะสม
4. การมีส่วนร่วมจะช่วยลดความขัดแย้ง เกิดความรู้สึกผูกพัน รู้สึกเป็นเจ้าของมากขึ้น 
5. ทำให้การพัฒนาเกิดความยั่งยืน
ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วม
1. การเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจของประชาชน
2. จิตอาสา และเห็นประโยชน์ของส่วนร่วมเป็นหลัก
3. รางวัลตอบแทน  หรือส่วนได้เสีย ผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม

10 ม.ค. 2563

รู้ทัน รับทำวิทยานิพนธ์ is วิจัย

📣ไม่อยากเสียโง่ 😔เสียเงิน 💰เสียอารมณ์ 😵เข้ามาชมก็แล้วกัน...
คนเราก็คงจะมีบางสิ่งหรือบางเรื่องที่ทำให้เราเกิดอาการหัวร้อน😡 เช่น โดนด่า โดนนินทา โดนตบ ดูถูก โอ๊ยอีกเป็นล้านเรื่อง
🤔แต่สำหรับผมคือ โดนหลอกหรือเสียรู้ เช่น แชร์ลูกโซ่ ซื้อของแล้วโดนโกง ตกทอง เหตุการณ์อะไรประมาณนี้ (ตัวอย่างที่ยกมา..ก็ยังไม่เคยนะครับ 555 อยู่รอดปลอดภัยมาได้)
และเวลาลูกค้าติดต่อเรื่องวิทยานิพนธ์ ลูกค้าก็จะเล่าประสบการณ์โดนโกง โดนเท โดนถ่วง และอีกหลายเรื่อง พอผมได้ฟังผมก็รู้สึกว่ามันขัดใจ😡😤
มันหงุดหงิดติดอยู่ในใจผมไม่รู้เพราะอะไร
 ตอนที่ผมเริ่มธุรกิจ Thesis DD📚 ผมก็🕵️‍♂สืบค้นรับทำวิจัย ลองถามที่รับทำวิทยานิพนธ์ เช็คตลาด ก็มีร้านรับทำวิทยานิพนธ์ที่ดีอยู่บ้าง..ร้านที่ดูแล้วแปลกๆ ก็เยอะ
ซึ่งผมก็ได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์🤔กับ ดร.มนัสยา จนได้ข้อสรุปหรือแนวทางการเลือกร้านทำวิจัย ดังนี้ (จริงๆ แล้วผมต้องเชียร์ Thesis DD ดิ โถ่เอ้ย..😁😃😅)
1. รีบร้อน รวบรัด มักมีพิรุธ เช่น เร่งให้เราตัดสินใจจนเกินเหตุ อ้างเหตุผลงานเดียวงานเยอะรีบวางมัดจำจะได้จองคิว เดี๋ยวไม่ทัน บร่าๆๆๆ❌
2. คำพูด การอ้างประสบการณ์ โฆษณาเกินจริง เช่น บางร้านไม่แก้ไขงานให้ลูกค้าเพราะว่าคุณภาพงานดีมาก หรือประสบการณ์มากกว่าพันปี
    ทีมงานคุณภาพเวอร์❌ ข้อนี้ผมบอกเลยสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำวิจัย คือ อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ที่เป็นคนกำหนดทิศทางให้นักศึกษา✔
3. เอาเปรียบ คือ การเสนอราคาให้ทราบ โดยต้องมีการตอบตกลงทั้งสองฝ่ายถึงจะวางมัดจำได้ บางที่ใช้การขอเบอร์โทรคุยลูกค้าอาจคิดว่า
   ดีที่ได้มีการพูดคุย แต่สุดท้ายเงื่อนไขต่างๆ ร้านไม่ได้ทำให้ เราก็ไม่มีหลักฐานสุดท้ายก็เจ็บ หรือแค่ขอใบเสนอราคาต้องเสียเงินมัดจำก่อนถึงจะให้❌
4. รับผิดชอบแก้ไขให้ตลอด ใช่ครับส่งงานให้แก้ไข..รับแก้ไข แต่ไม่มีกำหนดการแก้ไขงานเสร็จ (มันเจ๋งไหมไอ้พวกนี้ เล่าแล้วของขึ้น😤)❌
5. การสร้างรีวิว เช่น การสร้างรีวิวขึ้นมาเอง เพื่อหลอกลูกค้าโดยการสร้างความน่าเชื่อถือ จึงจะต้องพิจารณาให้ดีๆ เนียนบ้างไม่เนียนบ้าง ❌
6. หลักฐานการรับเงิน คือ หลักฐานยืนยันการชำระเงินที่น่าเชื่อถือมีผลตามกฎหมาย การที่เปิดเป็นบริษัทจำกัด มันไม่ได้หมายความว่าเขาจะไม่โกง
   ต้องรอบคอบและระมัดระวัง❌
7. สมเหตุสมผล เช่น ทำบท 1-3 ร้านก็ให้มาบท 1-3 ถูกไหม(!!) (ไม่ถูก❌ แล้วบรรณานุกรรมกูล่ะ(!?)) คิดเงินเพิ่ม😳(!!)พล้างๆ 😬+เสียงตกใจ!!!! อันนี้ก็ระวังร้านแบบนี้ไว้❌
8. น้ำใจ คือ ความรู้สึกที่ลูกค้ารู้สึกได้ถึงน้ำใจของร้านที่มอบให้ในเรื่องต่างๆ ✔
     ก็อาจมีมากกว่านี้อีกนะครับแต่ข้างต้นผมก็วิเคราะห์จากสถานการณ์และประสบการณ์ที่ผมได้เจอ ✔สิ่งสำคัญที่สุดคือการตัดสินใจอย่างรอบคอบจากข้อมูลที่มี
และสิ่งสำคัญกว่านั้นคือ ความรับผิดชอบของตัวท่านเอง ที่จะต้องเข้าใจในงานวิจัยของท่าน สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีมุมมองที่ต่างออกไป เพื่องานที่ดี
 👉สุดท้ายนี้ก็ขอให้คุณพระศรีรัตนตรัย สิ่งศักดิ์ในสากลโลกจงดลบันดาลให้ทุกท่านโชคดี มีความสุขตลอดปี 2563 สาธุใหญ่ๆ🙏
 ปล. จะให้ดีทำที่นี่ก็แล้วกัน...😁😁

8 ม.ค. 2563

รูปแบบ หรือ Model


แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบ 

 ดร.มนัสยา แรกคำนวน
 (9/1/63) 
Thesis DD (TDD)

ความหมายของรูปแบบ
รูปแบบหรือ Model เป็นคำที่ใช้เพื่อสื่อความหมายหลายอย่าง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วรูปแบบจะหมายถึง สิ่งหรือวิธีการดำเนินงานที่เป็นต้นแบบอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งที่เป็นตัวแทนของโครงสร้างทางความคิด สิ่งที่สร้างหรือพัฒนาขึ้นจากแนวคิดทฤษฎีที่ได้ศึกษามาของผู้สร้างเอง เพื่อเชื่อมโยงความ สัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ โดยสามารถเปรียบเทียบกับปรากฏการณ์จริงได้ เพื่อช่วยให้ตนเองและคนอื่นสามารถเข้าใจได้ชัดเจน

ประเภทของรูปแบบ  
 รูปแบบมีหลายประเภท โดยรูปแบบทางการศึกษาและสังคมศาสตร์ แบ่งเป็นรูปแบบที่ใช้การอุปมาอุปไมยเปรียบเทียบกับปรากฏการณ์ซึ่งเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความเข้าใจในปรากฏการณ์ที่เป็นนามธรรม รูปแบบที่ใช้ภาษาเป็นสื่อในการบรรยายหรืออธิบายปรากฏการณ์ที่ศึกษาด้วยภาษา แผนภูมิ รูปภาพ รูปแบบที่ใช้สมการทางคณิตศาสตร์เป็นสื่อในการแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ และรูปแบบที่นำเอาตัวแปรต่าง ๆ มาสัมพันธ์กันเชิงเหตุและผลที่เกิดขึ้น

การพัฒนารูปแบบ
 การพัฒนารูปแบบ แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสร้างหรือพัฒนารูปแบบ การประเมินความเหมาะสมและการหาคุณภาพของรูปแบบ โดยการสร้างรูปแบบ (Model) จะไม่มีข้อกำหนดที่ตายตัวว่าต้องทำอะไรบ้าง แต่จะเริ่มต้นจากการศึกษาองค์ความรู้ (Intensive Knowledge) ในเรื่องที่สนใจหรือกำลังศึกษา โดยจะสร้างรูปแบบตามหลักการหรือข้อกำหนดของรูปแบบที่จะพัฒนา 2) การตรวจสอบความเที่ยงตรงของรูปแบบความเหมาะสมหาคุณภาพของรูปแบบต่อไป ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
     ขั้นตอนที่ 1 การสร้างหรือพัฒนารูปแบบในขั้นตอนนี้ผู้วิจัยจะสร้างหรือพัฒนารูปแบบขึ้นมาก่อนเป็นรูปแบบตามสมมติฐาน โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ผู้วิจัยอาจศึกษารายกรณี หน่วยงานที่ดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งผลการศึกษาจะนำมาใช้กำหนดองค์ประกอบหรือตัวแปรต่าง ๆ ภายในรูปแบบ รวมทั้งลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างองค์ ประกอบหรือตัวแปรเหล่านั้นหรือลำดับก่อนหลังของแต่ละองค์ประกอบในรูปแบบ ดังนั้นการพัฒนารูปแบบในขั้นตอนนี้จะต้องอาศัยหลักของเหตุผลเป็นรากฐานสำคัญ ซึ่งโดยทั่วไปการศึกษาในขั้นตอนนี้จะมีขั้นตอนย่อย ๆ ดังนี้
      1) การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำสารสนเทศที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ร่างเป็นกรอบความคิดการวิจัย
       2) การศึกษาจากบริบทจริง ในขั้นตอนนี้อาจจะดำเนินการได้หลายวิธี ดังนี้
             - การศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินการในปัจจุบันของหน่วยงาน โดยศึกษาความคิดเห็นจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง (Stakeholder) ซึ่งวิธีศึกษาอาจจะใช้วิธีการสัมภาษณ์ กาสอบถาม การสำรวจและการสนทนากลุ่ม เป็นต้น
           - การศึกษารายกรณี (Case Study) หรือพหุกรณีหน่วยงานที่ประสบผลสำเร็จ หรือมีแนวปฏิบัติที่ดีในเรื่องที่ศึกษา เพื่อนำมาเป็นสารสนเทศที่สำคัญในการพัฒนารูปแบบ
               - การศึกษาข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ วิธีศึกษาอาจจะใช้วิธีการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เป็นต้น
    3) การจัดทำรูปแบบในขั้นตอนนี้ผู้วิจัยจะใช้สารสนเทศที่ได้ในข้อข้างต้นมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อกำหนดเป็นกรอบความคิดการวิจัยและนำมาจัดทำรูปแบบ
          อย่างไรก็ตาม ในงานวิจัยบางเรื่องนอกจากจะศึกษาตามขั้นตอนที่กล่าวมาแล้ว ผู้วิจัยยังอาจ จะศึกษาเพิ่มเติม โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบเดลฟาย (Delphi Technique) หรือการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ในการพัฒนารูปแบบก็ได้
      ขั้นตอนที่ 2 การทดสอบความเที่ยงของรูปแบบ ภายหลังที่ได้พัฒนารูปแบบในขั้นตอนแรกแล้ว จำเป็นที่จะต้องทดสอบความเที่ยงตรงของรูปแบบดังกล่าว เพราะรูปแบบที่พัฒนาขึ้นถึงแม้จะพัฒนาโดยมีรากฐานจากทฤษฎี แนวความคิดรูปแบบของบุคคลอื่นและผลการวิจัยที่ผ่านมา แต่ก็เป็นเพียงรูปแบบตามสมมติฐาน ซึ่งจำเป็นจะต้องทดสอบความเที่ยงตรงของรูปแบบว่ามีความเหมาะ สมหรือไม่ เป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพตามที่มุ่งหวังหรือไม่ การเก็บรวบรวมข้อมูลในสถานการณ์จริงหรือทดลองใช้รูปแบบในสถานการณ์จริง จะช่วยให้ทราบอิทธิพลหรือความสำคัญขององค์ประกอบย่อยหรือตัวแปรต่าง ๆ ในรูปแบบ ผู้วิจัยอาจจะปรับปรุงรูปแบบใหม่ โดยการตัดองค์ประกอบหรือตัวแปรที่พบว่าไม่มีอิทธิพลหรือมีความสำคัญน้อยออกจากรูปแบบ ซึ่งจะทำให้ได้รูปแบบที่มีความเหมาะ สมยิ่งขึ้น
                   การทดสอบรูปแบบอาจกระทำได้ใน 4 ลักษณะ ดังนี้
                   1) การทดสอบรูปแบบด้วยการประเมินตามมาตรฐานที่กำหนด การประเมินที่พัฒนาโดย The Joint Committee on Standards of Educational Evaluation ภายใต้การดำเนินงานของ Stufflebeam และคณะได้นำเสนอหลักการประเมินเพื่อเป็นบรรทัดฐานของกิจกรรม
การตรวจสอบรูปแบบ ประกอบด้วยมาตรฐาน
4 ด้าน (สุวิมล ว่องวาณิช,  2549: 54-56) ดังนี้
                        - มาตรฐานความเป็นไปได้ (Feasibility Standards) เป็นการประเมินความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติจริง
                        - มาตรฐานด้านความเป็นประโยชน์ (Utility Standards) เป็นการประเมินการสนองตอบต่อความต้องการของผู้ใช้รูปแบบ
                        - มาตรฐานด้านความเหมาะสม (Propriety Standards) เป็นการประเมินความเหมาะสมทั้งในด้านกฎหมายและศีลธรรมจรรยา
                        - มาตรฐานด้านความถูกต้องครอบคลุม (Accuracy Standards) เป็นการประ เมินความน่าเชื่อถือและได้สาระครอบคลุมครบถ้วนตามความต้องการอย่างแท้จริง
                   2) การทดสอบรูปแบบด้วยการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ การทดสอบรูปแบบ
ในบางเรื่องไม่สามารถกระทำได้โดยข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยการประเมินค่าพารามิเตอร์ของรูปแบบหรือการดำเนินการทดสอบรูปแบบด้วยวิธีการทางสถิติ แต่งานวิจัยบางเรื่องนั้นต้องการ
ความละเอียดอ่อนมากกว่าการได้ตัวเลขแล้วสรุป ซึ่ง ไอส์เนอร์ (
Eisner, 1976:  192-193) ได้เสนอแนวคิดของการทดสอบหรือประเมินรูปแบบโดยใช้ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีแนวคิด ดังนี้
                        - การประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จะเน้นการวิเคราะห์และวิจารณ์อย่างลึกซึ้งเฉพาะในประเด็นที่ถูกพิจารณา ซึ่งไม่จำเป็นต้องเกี่ยวโยงกับวัตถุประสงค์หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเสมอไปแต่อาจจะผสมผสานกับปัจจัยต่าง ๆ ในการพิจารณาเข้าด้วยกันตามวิจารณญาณของผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับข้อมูลคุณภาพประสิทธิภาพและความเหมาะสมของสิ่งที่จะทำการประเมิน
                        - รูปแบบการประเมินที่เป็นความชำนาญเฉพาะทาง (Specialization) ในเรื่องที่จะประเมินโดยพัฒนามาจากแบบการวิจารณ์งานศิลปะ (Art Criticism) ที่มีความละเอียดอ่อนลึกซึ้ง และต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญระดับสูงมาเป็นผู้วินิจฉัย เนื่องจากเป็นการวัดคุณค่าที่ไม่อาจประเมินด้วยเครื่องวัดใด ๆ และต้องใช้ความรู้ความสามารถของผู้ประเมินอย่างแท้จริง แนวคิดนี้ได้นำมาประยุกต์ ใช้ในทางการศึกษาระดับสูงมากขึ้น ทั้งนี้เพราะเป็นองค์ความรู้เฉพาะสาขา ผู้ที่ศึกษาเรื่องนั้นจริง ๆ จึงจะทราบและเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ดังนั้น ในวงการศึกษาจึงนิยมนำรูปแบบนี้มาใช้ในเรื่องที่ต้องการความลึกซึ้งและความเชี่ยวชาญเฉพาะ
                        - รูปแบบที่ใช้ตัวบุคคลคือ ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นเครื่องมือในการประเมินโดยให้ความเชื่อถือว่าผู้ทรงคุณวุฒินั้นเที่ยงธรรมและมีดุลพินิจที่ดี ทั้งนี้มาตรฐานและเกณฑ์พิจารณาต่าง ๆ นั้น จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์และความชำนาญของผู้ทรงคุณวุฒินั้นเอง
                        - รูปแบบที่ยอมให้มีความยืดหยุ่นในกระบวนการทำงานของผู้ทรงคุณวุฒิตามอัธยาศัย และความถนัดของแต่ละคน นับตั้งแต่การกำหนดประเด็นสำคัญที่จะนำมาพิจารณา การบ่ง ชี้ข้อมูลที่ต้องการ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การวินิจฉัยข้อมูล ตลอดจนวิธีการนำเสนอ
                   3) การทดสอบรูปแบบ โดยการสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรที่เกี่ยวข้องมักจะใช้กับการพัฒนารูปแบบโดยใช้เทคนิคเดลฟาย เมื่อผู้วิจัยได้พัฒนารูปแบบโดยใช้เทคนิคเดลฟายเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยจะนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นในรอบสุดท้ายมาจัดทำเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบประมาณค่า (Rating Scale) เพื่อนำไปสำรวจความคิดเห็นของบุคคลที่เกี่ยวกับความเหมาะ สมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ
                   4) การทดสอบรูปแบบ โดยการทดลองใช้รูปแบบ การทดสอบรูปแบบ โดยการทด ลองใช้รูปแบบนี้ ผู้วิจัยจะนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้จริงกับกลุ่มเป้าหมาย มีการดำเนินการตามกิจกรรมอย่างครบถ้วน ผู้วิจัยจะนำข้อค้นพบที่ได้จากการประเมินไปปรับปรุงรูปแบบต่อไป  


ภาพที่ 1 ขั้นตอนการวิจัยการพัฒนารูปแบบ