28 ต.ค. 2565
รับทำวิจัย “ครบวงจร”
3 ต.ค. 2565
Thai Thesis & Research Databases
The Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR)
คลังปัญญาจุฬาฯ (CUIR) คือโครงการที่รวมเอางานวิชาการฉบับเต็มของทั้งบุคลากรและนิสิตในรูปแบบดิจิทัลเอาไว้ ทางจุฬาฯ บอกว่าเพื่อเป็นการฉลอง 40 ปีของสำนักงานวิทยทรัพยากร เลยจัดการเปิดคลังความรู้นี้ให้สาธารณชนอย่างเต็มรูปแบบ ในคลังก็จะมีงานวิชาการตั้งแต่งานวิจัยวิทยานิพนธ์ บทความวิชาการ โดยการเปิดกว้างให้บุคคลภายนอกสามารถใช้บริการและดาวน์โหลดวิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย บทความทางวิชาการฉบับเต็ม (Fulltext) และอื่นๆ โดยไม่ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิก หรือ Log in อีกต่อไป
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : https://cuir.car.chula.ac.th
Mahidol University
วิทยานิพนธ์แยกตามคณะและวิทยาเขตต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดล
https://www.li.mahidol.ac.th/mahidol-e-theses
คลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่รวบรวมและจัดเก็บงานวิจัย ผลงานวิชาการและสิ่งพิมพ์ของมหาวิทยาลัยมหิดลทุกคณะ/สถาบันจำนวน ในรูปสื่อดิจิทัล แสดงผลข้อมูลข้อมูลฉบับเต็ม เพื่อให้บริการแก่ผู้สนใจทั่วไปได้ศึกษา ค้นคว้า วิจัยในทุกสาขาวิชา
http://repository.li.mahidol.ac.th/dspace
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ปริญญานิพนธ์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : https://www.li.mahidol.ac.th
Thammasat University Digital Collections
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มี Digital Collections คลังเอกสารออนไลน์ ที่เป็นงานวิจัยของนักศึกษาและบุคลากรที่เปิดให้สาธารณชนเข้าถึง Theses วิทยานิพนธ์ Research งานวิจัย
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : TU Digital Collections
Kasetsart University Knowledge Repository
คลังข้อมูลที่จัดเก็บและรวบรวมผลงานสร้างสรรค์ของบุคลากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในรูปแบบดิจิทัลตามมาตรฐานสากล ทั้งประเภทผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ หนังสือ ตำรา เอกสารคำสอน บทความ และผลงานสร้างสรรค์ทุกประเภท ไม่จำกัดปีพิมพ์ ที่ได้รับการอนุญาตสิทธิ์ในการเผยแพร่จากเจ้าของผลงาน สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากทุกที่ทุกเวลา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
Dspace, มหาวิทยาลัยศิลปากร
ศิลปากรก็มีฐานข้อมูล Dspace เป็นฐานข้อมูลที่จัดเก็บวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาและเผยแพร่ให้ผู้อ่านทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ ตัวฐานนี้เก็บวิทยานิพนธ์ยังสามารถดูวิทยานิพนธ์แยกตามคณะได้ คณะเด่นๆ เช่น จิตรกรรม สถาปัตยกรรม โบราณคดี อักษรก็มีงานวิทยานิพนธ์น่าสนใจเพียบ
http://www.graduate.su.ac.th/dspace/index.php
คลังปัญญา มหาวิทยาลัยศิลปากร
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : http://www.sure.su.ac.th
CMU e-Theses มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Search/index/collection:19
หรือ http://cmuir.cmu.ac.th
ERIC:The Education Resources Information Center
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : https://eric.ed.gov
PSU Knowledge Bank, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มาสู่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยภูมิภาคสำคัญทางภาคใต้ก็มีการเผยแพร่ผลงานวิชาการในระบบออนไลน์เหมือนกัน PSU Knowledge Bank เป็นคลังความรู้ที่เราสามารถใช้เสิร์ชเอ็นจินของทางคลังเข้าไปส่องงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ของสถาบันได้
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : http://kb.psu.ac.th/psukb
ThaiLIS
ThaiLIS ถือเป็นฐานข้อมูลทางการวิจัยและวิทยานิพนธ์ฐานแรกๆ ของบ้านเราที่รวมเอางานวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ไว้ ใครที่สนใจทำวิจัยอะไร หัวข้ออะไรก็มักจะลองมาดูที่นี่ มาหาข้อมูลในฐานข้อมูลนี้ก่อน ทางเว็บก็อาจจะเก่านิดหนึ่ง และใครที่อยากจะเข้าใช้ก็ต้องมีการสมัครสมาชิกก่อน
ดาวน์โหลด / ติดตั้ง VPN
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : https://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php
Google Scholar
ฐานข้อมูลในการทำวิจัย สามารถค้นหาได้แบบง่ายๆ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทคัดย่อ วารสารวิชาการ เอกสารการประชุมสัมนา ร่างบทความจากมหาวิทยาลัยต่างๆ สิทธิบัตร รวมถึงมีวรรณกรรมทางวิชาการอีกด้วย
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : https://scholar.google.com
Digital Research Information Center
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นองค์กรเพื่อส่งเสริมการวิจัยในประเทศทั้งด้านสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ทางองค์กรก็เปิดศูนย์ข้อมูลการวิจัย Digital “วช.” เป็นฐานข้อมูลที่เผยแพร่งานวิจัยและวิทยานิพนธ์จากนักวิจัยและมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งฐานข้อมูลก็มีตัวไฟล์ดิจิทัลบ้าง ไม่มีบ้าง และการจะเข้าใช้ฐานต้องทำการลงทะเบียนก่อน
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : http://dric.nrct.go.th/Index
NU Digital Repository มหาวิทยาลัยนเรศวร
ฐานข้อมูลรวบรวมงานวิชาการ วิทยานิพนธ์ ปริญญานิพนธ์ และผลงานวิจัยของบุคลากรมหาวิทยาลัยนเรศวร
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace
ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ : http://
ThaiEdResearch สำนักงานเลขาธิการสภาการ ศึกษา
ฐานวิจัยข้อมูลทางการศึกษาท
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : http://
ระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทย TNRR (Thai National Research Repository)
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : http://www.tnrr.in.th/2558
ฐานข้อมูลงานวิจัยมหาวิทยาลัยรามคำแหง
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : https://library.lib.ru.ac.th/screens/mainmenu_thx.html
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มธบ. อิเล็กทรอนิกส์ (DPU e-Theses)
ศูนย์เรียนรู้และหอสมุด ได้รวบรวมรายชื่อวิทยานิพนธ์, สารนิพนธ์, ภาคนิพนธ์ และงานค้นคว้าอิสระ ของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก โดยแยกตามหลักสูตร ให้ข้อมูลฉบับเต็ม (Full Text) ข้อมูลที่เริ่มจัดเก็บและเผยแพร่เป็นข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 จนถึงปัจจุบัน
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : https://lib.dpu.ac.th/page.php?id=6488
Research Gateway Common Service สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : http://researchgateway.in.th (สมัครสมาชิกก่อนเข้าใช้งาน)
งานวิจัยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : https://www.krisdika.go.th
ปริญญานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : https://www.facebook.com/LIBMAHIDOL/posts/3029460030467734
งานวิจัยสถาบันพระปกเกล้า
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : http://www.kpi.ac.th/knowledge/research
ฐานข้อมูลงานวิจัยด้านแรงงาน กลุ่มงานวิจัยและวางแผนกำลังแรงงาน สำนักเศรษฐกิจการแรงงาน
กระทรวงแรงงาน
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : http://research.mol.go.th/2013
ฐานข้อมูลงานวิจัยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : https://urms.stou.ac.th/Account/Login?ReturnUrl=/
ฐานข้อมูลงานวิจัยสำนักงานกิจการยุติธรรม
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : http://www.justice-kb.oja.go.th/DipWeb/htmlpub/index.jsp
งานวิจัย สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ)
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : https://knowledge.tijthailand.org/en/publication
งานวิจัย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ฐานข้อมูลงานวิจัยทางด้านวัฒนธรรม (กรมส่งเสริมวัฒนธรรม วธ.)
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : http://research.culture.go.th
ศูนย์วิจัยแรงงานแห่งชาติ ฐานข้อมูลงานวิจัยทางด้านแรงงาน (กระทรวงแรงงาน)
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : http://nlrc.mol.go.th
STDB ฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : http://stdb.most.go.th/research.aspx
KNOWLEDGE FARM ฐานข้อมูลงานวิจัย KNOWLEDGE FARM ฟาร์มรู้ สู่ สังคมไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : http://www.knowledgefarm.in.th
SWUDiscovery ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : http://search.swu.ac.th
วิทยานิพนธ์ ม.บูรพา
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : https://bit.ly/3yeTIEB
Academic Resource Center ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ / งานวิจัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : https://bit.ly/2MSxvGz
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : https://elibrary.trf.or.th/default2019.asp
คลังปัญญา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : https://repository.nida.ac.th
คลังปัญญา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : https://bit.ly/3qkoxAp
คลังปัญญา มหาวิทยาลัยแม่โจ้
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : https://library.mju.ac.th/mjudc
คลังปัญญา มหาวิทยาลัยพะเยา
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : http://www.updc.clm.up.ac.th
คลังปัญญามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : https://bit.ly/3bEEqOe
คลังข้อมูลงานวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : https://bit.ly/3bERUcO
คลังข้อมูลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : http://dspace.spu.ac.th
ศูนย์บริหารงานวิจัยและบรรณสารสนเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
เข้าดูรายละเอียดได้ที่ : http://www.fpo.go.th/eresearch
1 ต.ค. 2565
จ้างทำวิจัย ดีต่อใจและอนาคต
การแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยการประยุกต์ใช้วิธีทำวิจัย ซึ่งเป็นการศึกษาคนหาสิ่งที่ต้องการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ถือว่าเป็นการฝึกทำวิจัยด้วยตนเอง ค่อยๆ ฝึก ค่อย ๆ ทำไป เดี๋ยวก็เก่งขึ้นได้แต่จะให้ถึงคำว่าเชี่ยวชาญเลยนั้น ก็คงจะเป็นไปได้ยาก หากไม่มีที่ปรึกษาช่วยแนะนำหรือชี้แนวทางให้ เนื่องจากการทำวิจัยในแต่ละหัวข้อของแต่ละบทนั้น มีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ จำนวนมากที่ต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ
บางท่านก็มีความรับผิดชอบหน้าที่การงานที่สำคัญกว่าจึงใช้บริการรับจ้างทำวิจัย หรือบางท่านก็อยากใช้บริการ แต่ก็กลัวคนอื่นจะมาดราม่าใส่ให้เสียอารมณ์ เพราะในความเป็นจริงแล้วทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกทุกคนต่างมีมุมมองเป็นของตัวเอง มีข้อจำกัด มีความสามารถ มีทุนและโอกาสในการทำสิ่งต่าง ๆ ไม่เท่ากันอย่างแน่นอน แต่เป็นที่น่าแปลกใจ โดยเฉพาะคนที่มีพฤติกรรมเป็นนักเลงคีย์บอร์ด ที่มีให้เห็นทุกวันกับเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและมีแนวโน้มที่กลุ่มคนเหล่านี้เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทุกวันนี้จึงเกิดปรากฎการณ์ที่สะท้อนการกระทำที่สังคมไทยเข้าสู่ยุคศีลธรรมเสื่อมถอยอย่างรุนแรง สิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ หรือการตัดสินคนอื่น รวมถึงความคิดต่อเรื่องต่าง ๆ ที่ไม่เป็นกลางหรือใช้หลักเหตุและผลในการวิเคราะห์ แต่กลับเป็นการใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล เพราะคำว่า “เป็นกลาง” ในทางปฏิบัติสำหรับบนโลกใบนี้แล้วไม่มีอยู่จริง เมื่อมีคนเห็นชอบก็ต้องมีคนเห็นต่าง เพราะเราทุกคนล้วนแล้วมีเหตุผล หรือความจำเป็นในแง่มุมต่างๆ เป็นของตัวเอง เช่นเดียวกับการจ้างทำงานวิจัย ทุกคนล้วนแล้วมีผู้ที่เห็นชอบและผู้ที่เห็นต่างในเรื่องดังกล่าว ซึ่งล้วนแล้วต่างก็มีเหตุผลในมุมมองเป็นของจนเอง
ในบทความนี้เราขอเสนอมุมมองที่เป็นกลางเกี่ยวกับการทำงานวิจัยในการว่าจ้างทำงานวิจัย โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานในธุรกิจบริการรับทำวิจัยกว่า 10 ปี เป็นมุมมองที่อยากจะชี้ให้เห็นถึงความเป็นจริงในสังคมประเด็นสำคัญ ๆ และก็พิจารณาอย่างปราศจากอคติว่าเพราะอะไรถึงทำให้เกิดบริการรับทำวิจัย เพราะการจ้างทำงานวิจัย ไม่ได้ทำให้กลายเป็นคนฉลาด หรือเป็นคนไม่มีคุณภาพ ซึ่งการเรียนจบการศึกษาตามหลักสูตรมหาบัณฑิตจากรั้วมหาวิทยาลัยนั้น แม้จะต้องดำเนินการทำวิจัยหรือทำวิทยานิพนธ์ รวมถึงดุษฎีนิพนธ์ ในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ความรู้ที่ได้รับส่วนใหญ่นั้นมาจากการศึกษาในชั้นเรียน ความรู้ที่ได้จากการศึกษานั้น ไม่ได้มีไว้สำหรับทำงานวิจัยเพียงอย่างเดียว แต่จุดประสงค์ที่ได้รับจากการศึกษาจริงๆ คือ นำมาใช้กับชีวิตจริง ใช้สำหรับการดำเนินชีวิตประจำวัน หน้าที่การงาน ให้สามารถวางแผน แก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ได้ โดยเฉพาะสายงานที่คุณได้ศึกษามาผู้รับทำวิจัยไม่ใช่ “คนเลว”เขาเป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยให้จบการศึกษาได้ง่ายขึ้นเท่านั้น **ยกเว้นกรณีไม่มีทักษะความรู้จริงและถูกต้อง แต่มารับจ้างทำวิจัย โดยไม่มีความรับผิดชอบ คุณภาพงานต่ำไม่คุ้มค่า หรือไม่มีความสามารถเพียงพอกับค่าบริการที่เรียกเก็บจากลูกค้า พวกนี้ก็มีอยู่ไม่น้อยที่แฝงตัวคอยฉกฉวย หลอกลวง แต่สำหรับคนบางกลุ่มมองว่าผู้รับทำงานวิจัย
รับทำงานวิทยานิพนธ์นั้นเป็นคนเลว คนไม่ดี หรือคนไร้จรรยาบรรณเป็นเสมือนจุดด่างพร้อยของการศึกษาแต่ในความเป็นจริงแล้วการจ้างทำงานวิจัย คือ เครื่องมือที่ช่วยให้จบการศึกษาได้ง่ายขึ้น เป็นตัวช่วยหนึ่งที่ทำให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ของผลการศึกษาที่น่าพึงพอใจ และผลการศึกษาที่น่าพึงพอใจนี้จะเป็นใบเบิกทางสู่อาชีพและตำแหน่งงานที่อยากจะเป็นและความจริงที่เป็นจริงคือ คนส่วนใหญ่ที่เลือกว่าจ้างทำงานวิจัยนั้น เป็นผู้ที่มีหน้าที่การทำงานแล้ว เพียงแต่ต้องการวุฒิเพื่อยกระดับตำแหน่งหน้าที่การงาน หรือต่อยอดงานที่ทำอยู่ โดยเฉพาะยกระดับเงินเดือนให้สูงขึ้น
การไปเรียนในห้องเรียนก็สามารถนำความรู้ไปใช้ได้อยู่แล้ว แต่การทำวิจัยต้องยอมรับว่า มันไม่ได้ใช้ในชีวิตจริง และด้วยหน้าที่การงานที่ต้องทำ และที่ต้องรับผิดชอบ ส่งผลกระทบทำให้ไม่มีเวลามากพอที่จะให้เวลากับทุกกิจกรรมได้พร้อม ๆ กัน หรือเท่า ๆ กันตามตั้งใจ ดังนั้น ในการทำงานวิจัยจึงจำเป็นมากที่ต้องใช้บริการ บริษัทรับจ้างทำวิจัยเหล่านั้น ต้องเลือกว่าจ้างบริษัทรับทำวิจัยที่มีความเป็นมืออาชีพ ให้เข้ามาช่วยให้คำปรึกษา ชี้แนะแนวทาง และดำเนินงานแทน ส่วนผู้เรียนหรือผู้วิจัยทำหน้าที่กำหนดหัวข้อ ข้อมูลที่ต้องใช้ รูปแบบงานที่ต้งอการ และทำการตรวจสอบงานว่าใช่กับสิ่งที่ตนต้องการหรือไม่ธุรกิจบริการรับทำวิจัยเปรียบเสมือนเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ห้องสมุด ที่คอยบริการสื่อค้นข้อมูล
จากผลการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือ และใช้ได้จริง จากชั้นหนังสือในหมวดต่างๆ ที่คุณต้องการใช้ประกอบไว้ในงานวิจัย แต่สิ่งที่พิเศษกว่าการสืบค้นข้อมูลให้คือ ทำหน้าที่ดำเนินงานให้คุณตามแผนงานที่คุณได้วางแนวทางเอาไว้อาจเปรียบเทียบได้ว่าธุรกิจรับจ้างทำงานวิจัย หรือบริการรับวิจัยนั้น เป็นผู้ช่วยมือขวาเพื่อให้คุณทำงานวิจัยได้สำเร็จลุล่วง ไปพร้อมๆ กับงานในหน้าที่ต่างๆ ที่คุณต้องรับผิดชอบแน่นอนว่าข้อดีในการว่าจ้างทำวิจัยอันดับแรกย่อมช่วยให้คุณประหยัด “เวลา” ลงไปได้มาก และอย่างที่กล่าวมาข้างต้นว่า ส่วนใหญ่ผู้ที่ว่าจ้างจะเป็นผู้ที่มีงานประจำทำแล้ว และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการทำงานประจำของตนเอง ดังนั้นการว่าจ้างบริษัท THESIS DD รับทำวิจัยจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดอีกทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหานี้ หากสนใจใช้บริการและต้องการงานที่มีคุณภาพสูง เพราะดำเนินการด้วยทีม ดร. คุณภาพตัวจริงทุกสาขาวิชา หรือโทร 0805639991 ดร.ปอ