การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัย
IOCผลงานวิจัยที่ดีเป็นผลมาจากเครื่องมือวิจัยที่มีคุณภาพผ่านระบบการตรวจสอบที่มีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ ได้แก่ แบบทดสอบข้อเขียน แบบวัดประเมินผล แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม ฯลฯ
ดังที่ได้กล่าวข้างต้นแล้ว เนื้อหาจะมีความเที่ยงตรงได้ก็ต่อเมื่อมีความสอดคล้องกับข้อกำหนด โดยอาศัย
ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ในการประเมินวิเคราะห์ (face validity) และหาค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้อง (Indexof Item-Objective Congruence, IOC) ซึ่งมีสูตรดังนี้
โดยให้ IOC ความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กับเนื้อหา
ER ผลรวมของคะแนนจากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด
N จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
เกณฑ์การให้คะแนนเป็น 3 ระดับ คะแนน 1+ เมื่อเนื้อหา มีความสอดคล้อง-1 เมื่อเนื้อหาไม่สอดคล้อง และ 0 เมื่อไม่แน่ใจ แบบทดสอบหรือข้อสอบที่ถือว่ามีความเที่ยงตรงตามเนื้อหาในระดับถือว่ามีความสอดคล้อง (Thesis DD, 2563 : ออนไลน์) สามารถนำไปวัดผลได้มีค่า IOC เท่ากับ x.xx ซึ่งมากกว่า 0.5 จึงนำไปใช้ได้
Reliability ของ Cronbach
ผู้วิจัยได้ทำการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย โดยนำแบบสอบถามไปทดสอบความเชื่อมั่น (Reliability Analysis) กับกลุ่มทดลองที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับประชากรที่ต้องการศึกษา จำนวน 30 ชุด แล้วนำมาวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม โดยใช้วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (α-Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach, 1974) ซึ่งได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ (Thesis DD, 2563 : ออนไลน์) เท่ากับ x.xx ซึ่งมากกว่า 0.70 ขึ้นไปจึงนำไปใช้ได้