ความหมายของธุรกิจจัดหาคนงาน
ภาพที่ 1 รูปแบบการประกอบธุรกิจจัดหางาน
ที่มา : กิ่งพร ทองใบ (2555)
การประกอบธุรกิจจัดหาคนงานในระบบจ้างเหมาแรงงาน (Subcontractor) เป็นธุรกิจที่ตอบสนองกลยุทธ์การจ้างงานภายนอก ที่มีลักษณะความต้องการที่เร่งด่วน และเป็นความต้องการที่มีระยะเวลาจ้างแน่นอน หรืองานที่มีลักษณะข้อตกลงการจ้างที่แน่นอนการดำเนินธุรกิจประเภทนี้มีขั้นตอนประกอบด้วยกิจกรรมดังแสดงในภาพดังนี้
ภาพที่ 2 รูปแบบการประกอบธุรกิจจัดหาคนงานในระบบจ้างเหมาแรงงาน
ที่มา : กิ่งพร ทองใบ (2555)
จากภาพจะเห็นได้ว่า
รูปแบบการประกอบธุรกิจทั้งสองประเภท มีขั้นตอนที่แตกต่างกันอย่างน้อย 3 กิจกรรม ได้แก่
ขั้นตอนการจัดตั้งธุรกิจ การตรวจสอบการทำงานของลูกจ้างและการจ่ายเงิน
โดยธุรกิจจัดหางานต้องมีการขอใบอนุญาตจัดหางานจากกรมการจัดหางาน
ในขณะที่ธุรกิจจัดหาคนงานระบบจ้างเหมาแรงงานไม่ต้องขออนุญาต สำหรับธุรกิจจัดหางานเมื่อส่งลูกจ้างหรือคนหางานให้กับองค์การที่ต้องการจ้างงาน
ก็ถือว่าหมดภาระหน้าที่เกี่ยวกับลูกจ้างแล้ว แต่สำหรับธุรกิจจัดหาคนงานยังต้องมีการตรวจควบคุมการทำงานของลูกจ้าง และจ่ายเงินค่าตอบแทนการทำงานให้ลูกจ้างด้วยส่วนกิจกรรมที่เหมือนกันของธุรกิจสองประเภทนี้คือ
การติดต่อของลูกค้าผู้ใช้บริการและการสรรหางานมาตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ
ซึ่งในกิจกรรมดังกล่าวอาศัยเทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งผู้ประกอบกิจการจัดหางานทั้งสองประเภทใช้ทั้งการติดต่อสื่อสาร
โดยบุคคลและผ่านระบบสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ และออนไลน์ เพื่อการติดต่อสื่อสารที่คล่องตัว
รวดเร็ว และสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา ทำให้สามารถจัดหาคนงานมาตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการอย่างรวดเร็วทันเวลา
ธุรกิจจัดหางาน หมายถึง
องค์การของเอกชนผู้ดำเนินการประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางาน
หรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง
โดยจะมีการเรียกหรือรับค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายจากผู้ใช้บริการ
แต่ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานก่อน ธุรกิจจัดหางานเป็นการประกอบธุรกิจประเภทให้บริการ
ซึ่งการจัดหางานโดยภาคเอกชนมี 2 ลักษณะ คือ การจัดหางานในประเทศ และการจัดหางานเพื่อไปทำงานต่างประเทศ
การจัดหางานในประเทศเป็นการจัดหางานให้คนหางานทำในประเทศ
จะต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานนั้นตั้งอยู่ และมีหลักประกันเป็นจำนวนเงินตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งแสนบาทวางกับนายทะเบียนการเรียก หรือรับค่าบริการ และหรือค่าใช้จ่ายในการจัดหางาน
มีหลักเกณฑ์ที่สำคัญดังนี้
1) ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตจัดหางานในประเทศ และเพื่อไปทำงานต่างประเทศ
เรียกหรือรับเงินหรือทรัพย์สินอื่นใด จากคนหางานนอกจากค่าบริการหรือค่าใช้จ่าย
2) ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตจัดหางานในประเทศ เรียกหรือรับค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายก่อนที่นายจ้างรับคนเข้าทำงาน
และจ่ายค่าจ้างเป็นครั้งแรกแล้ว ทั้งนี้ให้เรียกและรับค่าบริการได้ไม่เกินร้อยละ
25 ของค่าจ้างรายเดือน ที่คนงานจะได้รับจากนายจ้างในเดือนแรกหรือในระยะเวลา
30 วันแรก ของคนงานเข้าทำงาน
3) ผู้รับอนุญาตจัดหางานในประเทศและเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ
เมื่อรับค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายจากคนหางานแล้วต้องออกใบรับตามแบบที่อธิบดีกำหนดให้แก่คนหางาน
รูปแบบของธุรกิจจัดหางานจำแนกได้เป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ 1. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด 3. บริษัทจำกัด 4. บริษัทมหาชนจำกัด
รูปแบบธุรกิจจัดหางานทั้งธุรกิจจัดหางานในประเทศ และธุรกิจจัดหางาน เพื่อไปทำงานในต่างประเทศจำกัดเพียง 4 รูปแบบข้างต้นนี้ เนื่องจากบทบัญญัติของพระราชบัญญัติจัดหางานที่ผู้ประกอบธุรกิจ ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนและการดำเนินงานต้องมีพันธะทางกฎหมายผูกพัน ทำให้รูปแบบการประกอบธุรกิจมีข้อจำกัดข้อบังคับทางกฎหมายในการจัดตั้ง จึงต้องดำเนินการตามข้อบังคับ โดยการเลือกประกอบธุรกิจรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งใน 4 รูปแบบนี้ ทั้งนี้สำหรับชื่อผู้ประกอบธุรกิจจะเรียกว่า บริษัทจัดหางาน หรือสำนักจัดหางานก็ได้
พระราชบัญญัติจัดหางานฯ ได้แบ่งธุรกิจจัดหางานไว้ 2 ประเภท คือ 1. การจัดหางานในประเทศ การจัดหางานให้คนหางานทำในประเทศ จะต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนที่สำนักงานนั้นตั้งอยู่ และมีหลักประกันเป็นจำนวนเงินตามที่กำหนด เป็นกฎกระทรวงแต่ต้องไม่น้อยกว่า 100,000 บาท วางไว้กับนายทะเบียน 2. การจัดหางานเพื่อไปทำงานต่างประเทศ การจัดหางานให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศ จะต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง โดยผู้ขออนุญาตต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชน จำกัด ต้องมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท และมีหลักประกันเป็นเงินสด หรือพันธบัตรของรัฐบาลไทย หรือสัญญาค้ำประกันของธนาคารเป็นจำนวนเงิน 5,000,000 บาท วางไว้กับนายทะเบียนจัดหางานกลาง ผู้รับอนุญาตต้องส่งสัญญาจัดหางานที่ผู้รับอนุญาตจัดหางานทำกับคนงานและเงื่อนไข การจ้างแรงงานที่นายจ้างในต่างประเทศทำกับคนหางานให้อธิบดี พิจารณาอนุญาตก่อนส่งคนงานไปต่างประเทศ และต้องส่งคนงานที่ผ่านการคัดเลือกและทดสอบฝีมือเข้ารับการตรวจสุขภาพ และเข้ารับการอบรม ณ สำนักงานทะเบียนจัดหางานกลาง สำนักงานทะเบียนจัดหางานจังหวัดหรือสถาบันอื่นใดที่อธิบดีกำหนด
การประกอบธุรกิจที่มีลักษณะใกล้เคียงกับธุรกิจจัดหางาน และเป็นธุรกิจที่ดำเนินงานตอบสนองกลยุทธ์การจ้างงานภายนอกของผู้ประกอบกิจการอื่น ธุรกิจประเภทนี้เรียกว่า ธุรกิจจัดหาคนมาทำงาน ดังที่ปรากฏในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 1) พ.ศ.2551 มาตรา 11/1 ว่า “ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหาคนมาทำงานอันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางาน โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิต หรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบการกิจการ และโดยที่บุคคลนั้นจะเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำงาน หรือรับผิดชอบในการจ่ายค่าจ้างให้แก่คนที่มาทำงานนั้น หรือไม่ก็ตาม ให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของคนที่มาทำงานดังกล่าว ให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงาน ในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ” จะเห็นได้ว่าข้อความในมาตรา 11/1 นี้ แสดงให้เห็นถึงรูปแบบการประกอบกิจการเกี่ยวกับการจัดหาคนมาทำงานที่ถูกต้องตามกฎหมายอีกประเภทหนึ่ง มักจะเรียกกันว่าเป็นธุรกิจจัดหาคนมาทำงาน หรือธุรกิจแรงงานจ้างเหมาตามนัยทางกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 11/1 ซึ่งการประกอบธุรกิจจัดหาคนมาทำงานมีลักษณ์การจัดหางานที่ยืดหยุ่นกว่า การประกอบธุรกิจจัดหางานตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน และมีผู้ประกอบธุรกิจประเภทนี้จำนวนมากกว่าธุรกิจจัดหางาน การควบคุมธุรกิจจัดหาคนมาทำงานอยู่ภายใต้การตรวจแรงงานของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ดังนั้นบริษัทจัดหางาน หรือสำนักจัดหางานในประเทศไทย จะต้องได้รับอนุญาติจากกระทรวงแรงงาน หรือกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน เป็นการให้บริการการจัดหางานที่ทำให้นายจ้างและลูกจ้างได้พบกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น